ภาพ : เรื่องแมวๆ
ที่มาจาก www.pinterest.com/
“เส้น” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบศิลป์ที่เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ แม้แต่เส้นเพียงหนึ่งเส้นก็สามารถสร้างสรรค์ให้มีเรื่องราวได้ ดั่งเช่น เรื่องแมวๆ
เส้น
คำว่า “เส้น”
นั้นมีนัยสำคัญที่หลากหลายแล้วแต่ว่าคนที่ได้ยินนั้นจะมีประสบการณ์ในความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นว่าอย่างไร
เช่น เส้น อาจจะหมายถึงการขีดเขียนสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดร่องรอย
หรือหากผสมคำอื่นเข้าไปก็จะมีความหมายอย่างอื่น เช่น เส้นทาง เส้นขอบฟ้า
เส้นก๋วยเตี๋ยว หรือจะเป็นเส้นแบบมีสองนัยก็เช่น เส้นใหญ่ เส้นสาย เป็นต้น
แต่ถ้าหากจะพูดถึงเส้น ในทางศิลปะแล้วนั้น “เส้น” ถือเป็นหัวใจหรือเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานศิลปะเลยทีเดียว เพราะไม่ว่าเราจะสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะหรือการรับรู้ทางด้านความงามล้วนมีองค์ประกอบจากเส้นเป็นฐานความเข้าใจทั้งสิ้น
เพราะเส้นนั้นสามารถสร้างให้เกิดรูปลักษณะต่างๆ ได้ เช่น เส้นตรงที่มาประกอบกันก็สามารถสร้างให้เกิดรูปสี่เหลี่ยม
สามเหลี่ยม หรือเส้นโค้งที่มาบรรจบกันก็ทำให้เกิดวงกลม และหากเรานำลักษณะของเส้นที่มีอยู่หลายรูปแบบมาประกอบกันอย่างสร้างสรรค์
ก็สามารถทำให้เกิดการรับรู้ทางการเห็นและสร้างความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับการเห็นนั้นๆ
หรือการรับรู้ด้านความงาม “สุนทรียะทางด้านทัศนศิลป์”
ผู้ที่ศึกษาทางด้านศิลปะหรือทำงานด้านศิลปะ
หากจะนำเส้นมาสร้างสรรค์ต้องทำความเข้าใจในธรรมชาติของเส้น ทุกคนต่างมีประสบการณ์ความงามที่เกี่ยวกับเส้นแตกต่างกันไป
ดังนั้นผู้ที่ศึกษาทางด้านศิลปะส่วนใหญ่มักจะวิเคราะห์สังเกตถึงสิ่งที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นมีเส้นเป็นองค์ประกอบให้รับรู้ถึงความงามและความไม่งามอยู่ในสิ่งที่เห็นเสมอ
หากวิเคราะห์เราสามารถตั้งข้อสังเกตว่าเส้นที่เราสามารถพบเจอในชีวิตมีลักษณะและธรรมชาติ
คือ
๑
เส้นแบบพื้นฐาน ได้แก่ เส้นตรงและเส้นโค้ง
๒ เส้นแบบจัดวาง
คือ การนำเส้นแบบพื้นฐานแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสองแบบมาจัดวางเพื่อให้เกิดลักษณะอื่นๆ
ได้แก่ เส้นนอน เส้นตั้ง เส้นเฉียง เส้นเอียง เส้นหยัก เส้นซิกแซก (แบบฟันปลา
หรือแบบคลื่น) เส้นแบบอิสระ เส้นประ และเส้นที่เกิดจากการทับซ้อนของวัตถุต่างๆ จนเราสามารถเห็นเป็นเส้นที่เกิดจากขอบของวัตถุเหล่านั้น
๓
เส้นเชิงนัย เป็นลักษณะของเส้นที่ไม่ปรากฏให้เห็นด้วยตา แต่เกิดขึ้นในจินตนาการความคิดของผู้ที่เห็น
ซึ่งเส้นในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราไปวัดเข้าไปในพระอุโบสถ เราสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าพระประธานองค์ใหญ่นั้นกำลังมองเราอยู่
หากลากเส้นจากพระประธานจะพบว่าเป็นเส้นตรงเฉียงลงมาหาเราทั้งที่จริงเส้นนี้ไม่มีอยู่จริงแต่เราสามารถรับรู้ได้จากความรู้สึก
นั้นเป็นลักษณะหนึ่ง อีกลักษณะคือหากเราเขียนวงกลมด้วยเส้นประเราจะรับรู้ได้ว่าวงกลมนั้นกลมทั้งที่เส้นที่เขียนนั้นไม่ได้ต่อเนื่องกันอย่างชัดเจนมีช่องว่างระหว่างเส้น
ช่องว่างเรานี้ทำให้เราเติมเส้นในจินตนาการความคิดของเราให้รับรู้ว่ารูปนั้นกลม ลักษณะแบบนี้คือเส้นที่ไม่เกิดขึ้นจริงแต่เห็นได้โดยจินตนาการของเรา
นอกจากลักษณะและธรรมชาติของเส้นแล้ว
สิ่งที่เกิดจากการกระทำของเส้นมีคุณสมบัติส่งผลต่อการรับรู้ทางด้านความรู้สึกของมนุษย์ในการเห็นอีกด้วย
เช่น
๑
เส้นตั้งตรง ทำให้รับรู้ถึงความมั่นคง แข็ง สง่า หรือสะท้อนความรู้สึกในความซื่อตรง
๒
เส้นนอน ทำให้รับรู้ถึงสงบ ราบเรียบ กว้าง นิ่ง ผ่อนคลาย
๓
เส้นเฉียง เส้นเอียง ทำให้รับรู้ถึงความไม่มั่นคง
๔
เส้นหยักแบบฟันปลา ทำให้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะรุนแรง ไม่ราบเรียบ
อันตราย และขัดแย้ง
๕
เส้นโค้ง ทำให้รับรู้ถึงความอ่อนโยน นุ่มนวล
๖
เส้นโค้งหยักแบบคลื่น ทำให้รับรู้ถึงเคลื่อนไหว ลื่นไหล
๗
เส้นประ ทำให้รับรู้ถึงความไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน
จากคุณสมบัติเบื้องต้นที่กล่าวนั้น
จึงทำให้ผู้ที่ศึกษาทางด้านศิลปะนั้นนำเส้นมาจัดวางเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดในการรับรู้ถึงความรู้สึกที่มีผลกับมนุษย์ในแง่ของความงามทั้งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านจิตใจ
และก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านความงามในรับรู้ความรู้สึกต่อเครื่องใช้ต่างๆ
ในชีวิตประจำวันอีกด้วย แต่เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมีประสบการณ์และการรับรู้ที่ไม่เท่ากัน
ดังนั้น การที่จะบอกว่าเส้นที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยศิลปะนั้นแบบใดงามกว่าคงพูดได้ยาก
เพราะแต่ละคนก็มีความชอบ
ความพึ่งพอใจที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่ต่างกันออกไปแต่อย่างน้อยเราก็สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่า
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนั้นเราสามารถนำเส้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดังนี้
๑ เส้นในลักษณะต่างๆ
นั้นสามารถนำมาใช้เพื่อกำหนดขอบเขต หรือการแบ่งพื้นที่ รวมถึงการกำหนดโครงสร้างวัตถุ
ทิศทางสิ่งต่างๆ ทางการเห็นได้
๒
เส้นในลักษณะต่างๆ สามารถนำมาประกอบเพื่อสร้างให้เกิดคุณสมบัติในการเป็นรูปร่าง
รูปทรง พื้นผิว
๓
เส้นที่เกิดจาการสร้างสรรค์ศิลปะนั้นมีผลต่อการรับรู้ในความรู้สึกของมนุษย์ช่วยให้มนุษย์สามารถเข้าใจและรับรู้ได้ถึงความงาม
Tu ฺBe Good Man
Editor
Tu ฺBe Good Man
Editor
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น