เขียนด้วยโปรแกรม illustrator CS4
Concept : เนื่องจากสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยระบบของทุน และศาสนาเองก็เป็นหนึ่งในสังคมและเป็นองค์กรใช้คำสอนในการขัดเกลาผู้ที่อยู่ในสังคมให้เป็นคนดี แต่ปัจจุบันการดำรงอยู่ของศาสนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ศาสนานั้นเป็นองค์กรเช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ ที่ต้องใช้ทุนนำการขับเคลื่อน จากแต่ก่อนที่เคยเดินและชี้นำทางสังคม ปัจจุบันมีสภาพให้เดินตาม คณะสงฆ์ที่ครองสถานภาพผู้อยู่สันโดด พอเพียง เปลี่ยนเป็นผู้สร้างสรรค์ทางการตลาด สิ่งที่ดำรงอยู่ในศาสนาที่สร้างศรัทธาความดีงามถูกเปลี่ยนให้เป็นพุทธพาณิชย์ (หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ทุนทางวัฒนธรรม ไม่แน่ใจใครนำมาใช้ เลยทำให้ทุกอย่างเปลี่ยน แม้แต่เปลี่ยนศรัทธาเป็นทุน) ไม่แปลกใจหากเข้าวัดแล้วจะมีการชวนเชื่อให้ทำบุญด้วยวิธีการต่างๆนาๆ รวมถึงการสร้างวัตถุมงคลที่ถูกออกแบบอย่างดีในบรรจุภัณฑ์สวยาม เพื่อรอให้ผู้หลงไหลและศรัทธาจับจองเป็นเจ้าของยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เพื่อการดำรงอยู่ในองค์กรทางศาสนาการสร้างศรัทธานั้นมีสีสัน และเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมทางศาสนาที่มีรูปแบบที่หลากหลาย
แนวทางการสร้างสรรค์ ผลงาน พุทธพาณิชย์ ใช้ศิลปะแนว Pop Art
Pop Art
ป๊อปอาร์ต (Pop Art) เป็นแนวการทำงานศิลปะอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ประมาณ พ.ศ. 2497 ล้อไปกับสังคมที่เป็นแบบบริโภคนิยม กลุ่มผู้สร้างสรรค์ศิลปะป๊อปอาร์ตเชื่อว่าศิลปะจะต้องสร้างความตื่นเต้นอย่างฉับพลันทันใดแก่ผู้พบเห็น ดังนั้น เนื้อหาศิลปะจึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนและสังคมในปัจจุบันที่กำลังได้รับความสนใจหรือวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้น หรือเป็นการสะท้อนภาพของสังคมในปัจจุบัน ศิลปินป๊อปอาร์ตมีรูปแบบการใช้วัสดุจริง การปะติด ซึ่งก็เคยมีรูปแบบของศิลปินก่อนนั้นได้ทำไว้บ้างแล้ว เช่นที่กลุ่ม ดาดา (Dada) บาศกนิยม (Cubism) ลัทธิเหนือจริง (Surrealism) และแอ็บแสร็คเอ็กเพลสชันนิสม์ (Abstract Expresssionism) ส่วนใหญ่ใช้แนวทางการสร้างขึ้นจากสิ่งสัพเพเหระ ของชีวิตประจำวัน เป็นการแสดงความรู้สึกของประสบการณ์ที่พบเห็นของศิลปินในช่วงเวลานั้น ขณะนั้น ณ ที่แห่งนั้น เรื่องราวที่ศิลปินนำเสนอมีแตกต่างกันไป เช่น บางคนเขียนเรื่องเกี่ยวกับดารายอดนิยม เขียนภาพโฆษณา เรื่องง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัวจึงทำให้หลาย ๆ คนเห็นว่างานแนวนี้ไม่ควรค่าแก่คำว่าศิลปะ เพราะเป็นความนิยมแค่ชั่ววันชั่วคืน ตื่นเต้น ฮือฮา พักหนึ่งก็จางหาย
tu be good man
Editor
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น